ด้านการกำกับดูแลกิจการ
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
โดยเชื่อมั่นว่าการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี จะส่งเสริมให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีจริยธรรม คุณธรรม มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ตลอดจนการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนรวมถึงการสร้างผลตอบแทนอย่างยั่งยืนในระยะยาว นอกจากนี้การจัดการที่เหมาะสมต่อความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบปฏิบัติต่างๆ จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้บริษัทฯ มีความยั่งยืนมากขึ้นได้
บริษัทฯ จึงยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับกิจการที่ดีและยึดหลักจริยธรรม ควบคู่ไปกับการใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง โดยบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้พิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กรตั้งแต่ผู้ถือหุ้น พนักงานลูกค้า ชุมชน ตลอดจนสังคมวงกว้าง และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในสังคมทุกภาคส่วน ทั้งด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างสรรค์สาธารณประโยชน์แก่สังคมโดยรวม ทางคณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้
หน้าที่และความรับผิดชอบ
การต่อต้านการทุจริต
บริษัทฯ เห็นความสำคัญของการเข้าร่วมโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) และมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้บริษัทได้ประกาศเจตนารมณ์เป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย โครงการ Thai Private Sector Collective Action Against Corruption (CAC) (2ดาว) ในปี 2565 เรียบร้อยแล้ว
ดูเพิ่มเติมการบริหารความเสี่ยงและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่
บริษัทฯมีการติดตามความเสี่ยงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใหม่ทั่วโลก (Global Emerging Risk) ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอีกใน 5 ปีข้างหน้า หรือในห้วง 10 ปีต่อจากนี้ไป โดยพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสที่อาจกระทบต่อการดำเนินธุรกิจใน 4 ด้าน ได้
- ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์
- ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน
- ความเสี่ยงด้านการเงิน
- ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย (compliance risk) ใน 5 มิติของความเสี่ยง ได้แก่มิติเศรษฐกิจ (Economic) มิติสังคม (Societal) มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) มิติภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical) และมิติเทคโนโลยี (Technological) และได้จัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ เพื่อช่วยให้บริษัทฯ สามารถบรรลุเป้าหมายตามกลยุทธ์และทิศทางตามที่กำหนดไว้
การบริหารจัดการภาวะวิกฤต
บริษัทฯ มีกระบวนการสำหรับการบริหารจัดการเหตุการณ์ความไม่แน่นอน (Uncertainty event) ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในด้านต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง การกำหนดมาตรการ หรือแนวทางการดำเนินการในการควบคุมหรือตอบสนองต่อความเสี่ยง จนถึงการติดตามและวัดผลมาตรการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงขึ้น หรือลดผลกระทบจากความเสียหาย ให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ รวมถึงการบริหารจัดการภาวะวิกฤตและภาวะฉุกเฉินการบริหารความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
โดยบริษัทฯ มีเป้าหมายในการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan หรือ BCP) รวมถึงการทบทวนมาตรการและซ้อมแผนบริหารความต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จัดทำแผนการจัดการอุบัติการณ์ให้ครอบคลุมทุกประเด็นความเสี่ยง จัดทำแผนประกันภัย พร้อมทบทวนทุนและขอบเขตการประกันเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันและมีความเหมาะสมเป็นประจำทุกปีแนวทางและแผนการบริหารต่างๆ เหล่านี้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถจัดการและควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ที่เกิดขึ้นไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงานปี 2565
ผลการดำเนินงาน | หน่วย | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|
ผลประเมิน CG (Excellent CG Scoring) | Percentage | |||
การร้องเรียนว่ามีการพบเห็นกรณีการละเมิดจรรยาบรรณทางธุรกิจ | กรณี | 0 | 0 | 0 |
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การบริหารห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านต้นทุน คุณภาพของสินค้า บริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงสนับสนุนให้องค์กรสามารถส่งมอบคุณค่าตามเจตนารมณ์ได้ บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยการพัฒนานโยบายการจัดซื้อ จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ และแนวทางในการคัดเลือกคู่ค้าของบริษัทโดยคำนึงถึงคุณภาพ ราคา ปริมาณการให้บริการและความรวดเร็วในการตอบสนองประสิทธิภาพ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลกิจการ ทั้งมีกระบวนการจัดซื้อที่ให้ความสำคัญต่อความโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ ทั้งสอดคล้องกับระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- Management Approach
แนวทางการบริหารจัดการ บริษัทฯ ได้จัดตั้งหน่วยงาน Supply Chain Management (SCM) โดยมีหน้าที่รับผิดชอบและบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ ในกระบวนการระหว่างผู้ผลิต ผู้ให้บริการกับผู้ขายปัจจัยผลิต (Supplier) ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดต้นทุนในการผลิต นำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการนี้จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution)ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
- Supplier’s Risk Assessment
การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า บริษัทฯ มีการวิเคราะห์และแยกประเภทความสำคัญของคู่ค้าโดยกำหนดเกณฑ์ในการจัดกลุ่มคู่ค้าออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ 1 เป็นคู่ค้าที่สำคัญยิ่งยวด (Critical Supplier) ระดับ 2 เป็นคู่ค้าที่สำคัญปานกลาง (High-Risk) ระดับ 3 เป็นคู่ค้าที่มีความเสี่ยงต่ำ (Low Risk) และการประเมินผลการปฏิบัติงานของคู่ค้าโดยคู่ค้าในแต่ละระดับจะต้องทำแผนการปรับปรุงสินค้าและบริการ แนวทางป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้สอดคล้องกับระดับของตน บริษัทฯ จะติดตามการปฏิบัติงานตามแนวทางการดำเนินงานแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าทุกรายสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และบริษัทฯ ยังพัฒนากระบวนการจัดซื้อจัดหาเชิงกลยุทธ์ร่วมกันกับคู่ค้าเพื่อระบุแนวทางสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงานปี 2565
ผลการดำเนินงาน | หน่วย | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|
สื่อสารหลักปฏิบัติอย่างยั่งยืนสำหรับคู่ค้าธุรกิจไปยังคู่ค้าของบริษัทฯ | ร้อยละ | N/A | 80 | 100 |
คู่ค้ารับรู้และยินยอมปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ อย่างยั่งยืนสำหรับคู่ค้าของบริษัทฯ | ร้อยละ | N/A | 80 | 95 |
ข้อร้องเรียนจากคู่ค้า ในเรื่องการทุจริต | กรณี | N/A | 0 | 0 |
การเสียชีวิตของคู่ค้า | คน | N/A | 0 | 0 |
ข้อร้องเรียนเรื่องการละเมิดกฎหมาย สิ่งแวดล้อมของคู่ค้า | กรณี | N/A | 0 | 0 |
หมายเหตุ : N/A (Not Available) บริษัทยังไม่ได้มีการเก็บข้อมูล