บริษัทฯ ยังคงดำเนินงานด้านการบริหารระบบคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง

โดยบูรณาการการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้รับการรับรอง ปลูกฝังจิตสำนึกสร้างความตระหนักและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตอาหารที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ที่ปลอดภัย ถูกต้องตรงตามมาตรฐาน สร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยให้กับลูกค้าและประกันคุณภาพสินค้าอย่างเป็นระบบ โดยคณะทำงานความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Team) ดำเนินการตามมาตรฐานตลอดกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อาหารจนถึงมือผู้บริโภค มาตรฐานต่างๆ

ด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานบังคับ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพในเกียรติของพนักงานตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม และปกป้องสิทธิมนุษยชนสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (United Nations Universal Declaration of Human Rights : UNDHR) และอนุสัญญาหลักด้านสิทธิ์แรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization Conventions : ILO Conventions

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

งานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของคนทำงานให้ปราศจากภัยคุกคาม อันตราย และความเสี่ยงใดๆ รวมทั้งอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน และความปลอดภัยนอกการทำงาน พร้อมทั้งอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ บริษัทฯ จึงกำหนดขอบเขตงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไว้ ดังนี้

  1. การส่งเสริมและดำรงไว้ (Promotion and Maintenance) ซึ่งความสมบูรณ์ที่สุดของสุขภาพร่างกาย จิตใจ และความเป็นอยู่ที่ดีในสังคมของผู้ปฏิบัติงาน กำหนดมาตรการในการดูแลพนักงานและส่งเสริมสุขภาพของพนักงานให้มีสุขภาพดี ดังเช่น ก่อนที่พนักงานเข้ามาทำงาน
  2. การป้องกัน (Prevention) หมายถึง การป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานมีสุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมหรือผิดปกติ อันมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งการป้องกันอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานเพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ
  3. การปกป้องคุ้มครอง (Protection) ผู้ปฏิบัติงานไม่ให้ทำงานในสภาพที่เสี่ยงอันตราย เป็นสาเหตุให้เจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อไม่สามารถจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยได้แต่พนักงานต้องเข้าไปปฏิบัติงาน ต้องหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายในการปกป้องคุ้มครองแรงงาน จากอันตรายนั้นๆ
  4. การจัดงาน (Placing) ให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติงานนั้น เพราะงานบางอย่างไม่สามารถทำได้ทุกคนจึงต้องเลือกคนที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ เช่น คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ไม่ควรทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น เป็นต้น
  5. การปรับงาน (Adaptation) ให้เหมาะสมกับคน และการปรับคนให้เหมาะสมกับสภาพการทำงาน โดยนำปัจจัยด้านต่างๆ ร่วมพิจารณา เช่น ปัจจัยด้านสรีรวิทยาของพนักงาน โดยคำนึงถึงสถานที่ทำงานที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นความสูง ระยะเอื้อม การวางแขน เก้าอี้ โต๊ะทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสมกับคนพนักงาน

ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม

การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในปัจจุบัน อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงกับสถานประกอบการ ซึ่งมีความตื่นตัวถึงผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจมากขึ้น และข้อมูลของผลกระทบดังกล่าวยังสามารถเข้าถึงหรือเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วส่งผลให้บริษัทฯ อาจไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน บริษัทฯ จึงกำหนดแนวทางในการจัดการ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นต่อการดูแลชุมชนโดยรอบให้มีความปลอดภัย และไม่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการดำเนินธุรกิจทั้งนี้ บริษัทฯ สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งในเชิงสาธารณประโยชน์และโครงการจิตอาสา เพื่อสร้างความพึงพอใจและการยอมรับจากชุมชนรอบข้าง รวมทั้งเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากข้อร้องเรียนต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้

ทั้งนี้ตลอดปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่ได้รับข้อร้องเรียนและอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากชุมชน

ในปี 2565 บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ SMETA หรือ The Sedex Members Ethical Trade Audit หรือ SEDEX

ซึ่งเป็นองค์กรและระบบการจัดการเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานและความปลอดภัยในการทำงาน ที่รวมกลุ่มสมาชิกทางธุรกิจทั่วโลก โดยมีข้อตกลงร่วมกันด้านการพัฒนาจริยธรรมของบริษัทหรือกลุ่มผู้จัดจำหน่าย ซึ่งบริษัทฯ ที่สามารถเข้าร่วมในกลุ่มดังกล่าวจะต้องมีการปฏิบัติต่อพนักงาน หรือแรงงานอย่างมีจริยธรรมทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะในบริษัทฯ ของตนเองเท่านั้น แต่รวมไปถึงคู่ค้าของบริษัทฯ ต้องมีจริยธรรมในการปฏิบัติต่อแรงงานด้วยเช่นกันโดยตั้งเป้าหมายได้รับการรับรองจาก SMETA ด้วย